Description
Biosativa® ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดไบโอสำหรับใช้ในครัวเรือนและอุตสาหกรรม
ไบโอซาทิวา (Biosativa) เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีคุณสมบัติที่น่าประหลาดใจ เนื่องจากน้ำยาทำความสะอาดนี้ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ แม้นเทลงในแหล่งน้ำก็ตาม
ไบโอซาทิวา (Biosativa) ไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนังร่างกาย ยังสามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ 100% และเป็นผลิตภัณฑ์ไบโอชีวภาพที่มีคุณสมบัติด้ายความสามารถในการเข้ากันดีอีกด้วย (bio-compatible)
ไบโอซาทิวา (Biosativa) คืออะไร และมีวิธีการทำงานอย่างไร
ไบโอซาทิวา (Biosativa) เป็นน้ำยาทำความสะอาดที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ใช้ในการสลายคราบไขมันและน้ำมัน และแน่ใจได้เลยว่าจะสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์
ไบโอซาทิวา (Biosativa) เป็นนวัตกรรมใหม่ของสารลดแรงตึงผิว ที่มีพลังในการทำความสะอาดได้อย่างดีมาก นอกจากนี้ ไบโอซาทิวา (Biosativa) ยัง….
• ไม่ทำให้น้ำสกปรกหรือเป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์
• ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตใดๆ
• ไม่กัดกร่อนสี พลาสติก หรือวัสดุอื่นๆ
• ไม่ทำร้ายผิวหนัง
• สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์ภายในเวลาไม่กี่วัน และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม มนุษย์ และสัตว์
• ใช้ส่วนผสมจากการเกษตรเชิงนิเวศที่ได้รับการควบคุมอย่างดี
ไบโอซาทิวา (Biosativa) สามารถนำมาใช้ได้กับ
• ห้องครัวขนาดใหญ่ ร้านอาหารแบบสั่งกลับบ้าน (take away) ร้านเบเกอรี่ โรงอาหาร โรงแรม ห้องน้ำ และบริเวณอื่นๆ ที่คล้ายกัน
• อุตสาหกรรม อู่ซ่อมรถ ระบบเครื่องจักร ร้านซ่อมรองเท้า สายการผลิตและโรงปฏิบัติงาน ปั๊มน้ำมัน การทำความสะอาดแท็งก์ ฯลฯ
• งานด้านสิ่งแวดล้อม ทำความสะอาดสนามหญ้า อาคารสถานีรถไฟ สนามบินและถนน บริเวณฟาร์ม ฯลฯ
• ยับยั้งกลิ่น โดยเฉพาะกลิ่นน้ำมันที่เสื่อมสภาพ
• ระบบการบริหารการจัดการน้ำ และระบบบำบัดน้ำเสีย
• แผงพลังงานแสงอาทิตย์ (เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับแสงเพิ่มมากขึ้น)
• การฟื้นฟูดิน ดินที่ใช้เพื่อการเกษตร
สารลดแรงตึงผิวคืออะไร?
สารลดแรงตึงผิว (คือ สารตัวกลางที่ใช้กับพื้นผิว) เป็นสารที่เมื่อละลายน้ำแล้ว จะสามารถกำจัดคราบที่ติดอยู่บนพื้นผิวต่างๆ ได้ เช่น เครื่องจักร พื้น ผนัง ผิวหนัง สิ่งทอ และของแข็งอื่นๆ
สารลดแรงตึงผิวทำงานอย่างไร
มีผลต่อแรงตึงผิว :
สารลดแรงตึงผิว จะทำให้แรงตึงผิวของตัวกลางมีค่าต่ำลง ซึ่งจะทำให้เกิดการละลายได้ง่ายขึ้น
ภาวะการเปียก (wetting) :
ภาวะการเปียก (wetting) คือ ความสามารถของของเหลวในการแผ่กระจายไปบนพื้นผิว (ของแข็ง) ซึ่งแรงตึงผิวที่ลดลง = ภาวะการเปียกที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นสารลดแรงตึงผิว 1 หยดจะแผ่กระจายพื้นผิวได้ดีกว่าน้ำ 1 หยด เพราะส่วนที่เป็น hydrophobic (ไม่ชอบน้ำ) ในโมเลกุลของสารลดแรงตึงผิว จะไปจับสิ่งสกปรก และในเวลาเดียวกัน ส่วนที่เป็น Hydrophilic (ชอบน้ำ) ในโมเลกุลของสารลดแรงตึงผิวจะไปจับกับน้ำ ทำให้เกิดแรงระหว่างโมเลกุลที่แข็งแรง
การกระจายตัว :
การกระจายตัวเกิดขึ้นเนื่องจาก
• ลดแรงตึงผิว
• ความไวต่อปฏิกิริยาของพื้นผิว
• ส่วนที่เป็น Hydrophilic/hydrophobic (amphiphilic) ซึ่งน้ำยาไบโอซาทิวา (Biosativa) จะแสดงให้เห็นในขั้นตอนการทำความสะอาด
• ความสามารถในการเปียก (wetting ability)
• ลักษณะการสลายคราบ
• ลักษณะการกระจายตัว
(รูปที่ 1) การทำความสะอาดพื้นผิวและคราบสกปรกของสารลดแรงตึงผิวที่มีประจุลบ.
สารลดแรตึงผิวที่มีประจุลบจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างน้ำกับพื้นผิวและคราบสกปรกที่ไม่ชอบน้ำ (ความไวของพื้นผิวที่มีสารลดแรงตึงผิว)
(รูปที่ 2) ลดการเกาะยึดของสิ่งสกปรก.
ประจุลบของสารลดแรงตึงผิว (แอนไอออน) ของแต่ละโมเลกุลจะผลักกัน จึงทำให้คราบสกปรกหลุดออกมาเกิดเป็นอิมัลชั่น
(รูปที่ 3) การสลายคราบ
ในขณะที่ประจุลบของสารลดแรงตึงผิว (แอนไอออน) กำลังผลักกัน “ไมเซลล์” ก็ถูกสร้างขึ้น (สิ่งสกปรกจะถูกล้อมรอบไปด้วยโมเลกุลของสารลดแรงตึงผิว) การคนหรือการเขย่าช่วยทำให้เกิดการกระจายตัว
การเกิดแรงระหว่างโมเลกุลอย่างต่อเนื่อง จะทำให้สิ่งสกปรกสลายออกไปได้มากขึ้น และทำให้พื้นผิวสะอาดยิ่งขึ้น